เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
เว้นสภาวธรรมที่เป็นปรามาสเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของปรามาส
แต่ไม่เป็นปรามาส
5. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ
[1189] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นไฉน
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสเหล่านั้น คือ สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล
และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาส
แต่เป็นอารมณ์ของปรามาส
[1190] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
ปรามาสโคจฉกะ จบ

10. มหันตรทุกะ
1. สารัมมณทุกะ
[1191] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ได้
[1192] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นไฉน
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ารับรู้อารมณ์
ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :303 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ
2. จิตตทุกะ
[1193] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต
[1194] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นจิต
3. เจตสิกทุกะ
[1195] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเจตสิก
[1196] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน
จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ไม่เป็นเจตสิก
4. จิตตสัมปยุตตทุกะ
[1197] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยจิต
[1198] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต เป็นไฉน
รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก
จิต จิตไม่พึงกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
5. จิตตสังสัฏฐทุกะ
[1199] สภาวธรรมที่ระคนกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต
[1200] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :304 }